วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบบ้านชั้นเดียว มุงด้วยไม้ Ceda


แบบบ้านชั้นเดียว หลังคาทรงทันสมัย  มุงด้วยไม้ Ceda เป็นไฟล์ CAD Drawing ( เปิดด้วยโปรแกรม AutoCAD ) พื้นที่ใช้สอยภายใน  3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องแต่งตัว 1 ห้องครัว พร้อมสระว่ายน้ำ บ้านชั้นเดียวสไตล์เรียบงาย แต่ดูน่าอยู่สบาย ที่แฝงไว้ด้วยความเป็นส่วนตัว เนื่องจากได้จัดวางห้องนอนทั้ง 3 ห้องไว้ เพื่อการพักผ่อนที่เป็นอิสระและต่างมุมมอง มีเฉลียงพักผ่อนที่กว้างขวางเป็นของขวัญสำหรับผู้เป็นเจ้าของบ้าน แถมด้วยโถงโล่งกลางตัวบ้านสำหรับกิจกรรมของครอบครัวอีกด้วย



สร้างบ้านสักหลัง รู้ทันช่างได้อย่างไร?
บทความจาก: Home Care
ผู้แต่ง: สาโรจน์  วิบุล

บางคนคิดว่าการสร้างบ้านเมื่อเซ็นต์สัญญากับผู้รับเหมาไปเหมา ก็ถือว่าผู้รับเหมาจะรับผิดชอบให้เราทั้งหมด มีบางอย่างที่เขาอาจมองข้ามหรือคิดไม่ถึงก็ได้ เจอผู้รับเหมาที่ดี ไว้ใจได้ก็ดีไป แต่ถ้าหากเจอผู้รับเหมาที่หวังแต่ผลประโยชน์และคำนึงถึงความสะดวกของตนเอง คิดแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ตนเองได้ปริมาณงานออกมามากๆ จะเบิกค่างวดได้เร็วๆ จนลืมคิดถึงคุณภาพก็ถือว่าแย่มาก ซึ่งวงการก่อสร้างในยุคนี้มีผู้รับเหมาประเภทนี้มากมายเกลื่อนเมือง คอลัมม์นี้จะพูดถึงแนวทางและวิธีการเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะช่วยให้บ้านราคาแพงๆของคุณ มีคุณภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่เราได้ลงทุนไป

เริ่มกันตั้งแต่ การเตรียมตัวก่อนการเซ็นต์สัญญา

ก่อนการเซ็นต์สัญญาเราต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างอย่างละเอียด ต้องมีการแสดงลักษณะของวัสดุก่อสร้าง อันเป็นส่วนประกอบทีสำคัญของตัวบ้านลงในแบบโดยชัดเจน เช่น มาตราส่วน ขนาด ระยะ ระดับน้ำหนัก ทิศทาง สัญลักษณ์ต่างๆ รายการประกอบแบบและที่สำคัญคือ ลายเซ็นต์ของผู้ออกแบบกับผู้ควบคุมการก่อสร้าง ส่วนประกอบเหล่านี้ถ้าไม่มีในแบบก็อาจจะทำให้ผู้รับเหมาเลือกวิธีการทำงานที่เอื้อประโยชน์ต่อตัวเขาเองมากที่สุด

การเซ็นต์สัญญาก่อสร้างส่วนใหญ่ หนังสือสัญญาก่อสร้างจะมีรายละเอียดเยอะมาก ดูแล้วไม่น่าอ่านสักเท่าไร แต่จำเป็นที่สุดที่จะต้องอ่านให้จบ ต้องยอมเสียเวลานิดหน่อยเพื่อให้เข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ของผู้รับเหมา หนังสือสัญญาจะต้องเอื้อประโยชน์ให้กันทั้งสองฝ่าย สิ่งสำคัญที่จะต้องมีในหนังสือสัญญา คือระยะเวลาในการก่อสร้าง วันสิ้นสุด การเบิกจ่ายค่างวดที่ชัดเจน ความรับผิดชอบของผู้รับเหมาครอบคลุมแค่ไหน ค่าเพิ่ม-ลด ที่นอกเหนือจากแบบระบุไว้ระยะเวลา และเงื่อนไขการรับประกันผลงานหลังส่งมอบงาน

เมื่อเราเซ็นต์สัญญาและได้แบบก่อสร้างมาแล้ว อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือหมุดหลักเขตที่แสดงในแบบมาเทียบกับโฉนด หรือเอกสารครอบครองที่ดินว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ และจากนั้นนำแบบไปเทียบกับที่ดินแปลงที่เราจะทำการก่อสร้างอีกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ เราอย่าไว้ใจผู้รับเหมาให้ทำฝ่ายเดียว เพราะบางทีตัวผู้รับเหมาเองอาจสั่งให้คนงานซึ่งอาจไม่มีความรู้ในด้านนี้มาทำและอาจทำให้เกิดความผิดพลาด จนทำให้ต้องทุบรื้อบ้านทิ้งในภายหลังกันเลย บางพื้นที่ เช่น ในเขตเทศบาลก็จะมีเทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างซึ่งจะมีข้อกำหนดระยะห่างจากแนวเขตที่ดินเอาไว้ว่าควรจะจัดวางตัวบ้านในลักษณะใด ห่างจากแนวเขตเท่าไร ถึงไม่รบกวนพื้นที่บ้านใกล้เคียง การตรวจสอบหมุดหลักเขต ถ้าจะให้ชัดเจนควรให้เจ้าหน้าที่รังวัดเข้ามาตรวจสอบให้ โดยยอมเสียเงินอีกนิดหน่อย แต่รับรองได้ว่าไม่เกิดปัญหาภายหลังแน่นอน

เมื่อได้ตรวจสอบแนวเขตที่ดินเรียบร้อยแล้ว เราก็มาดูสภาพพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นพื้นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมหรือเปล่า เป็นดินโคลนไหม มีซากวัสดุที่อาจมีผลกระทบต่อการสร้างบ้านหรือผู้อยู่อาศัยหรือไม่ ระดับดินเดิมได้ระดับตามที่ต้องการหรือเปล่า

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างจากที่กล่าวมาคือระดับดินที่เป็นระดับอ้างอิงของตัวบ้าน ว่ามีความสูงพอหรือไม่ มีความปลอดภัยจากน้ำท่วมหรือเปล่า แม่กระทั่งต้องคิดเผื่อไปถึงอนาคตด้วยว่า ต่อไปถนนเส้นนั้นยังต้องมีการยกระดับอีกแค่ไหน และระบบการระบายน้ำทิ้งจากตัวบ้านสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะนั้น สูง ต่ำ เพียงพอต่อการไหลของน้ำทิ้งได้สะดวกหรือไม่ ความลาดเอียงของท่อน้ำทิ้งลงสู่ท่อสาธารณะ ไม่ควรน้อยก่อ 1/:/200 ของความยาวท่อ น้อยมากที่ผู้รับเหมาจะคำนึงถึงจุดเล็กๆน้อยๆตรงนี้ ก่อนการเริ่มต้นก่อสร้างบ้าน เราดูระดับจากที่แบบกำหนดอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะช่างเขียนแบบส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นสภาพของที่ดินก่อนการก่อสร้างว่าเป็นอย่างไร

ต่อมาก็เป็นเรื่องเศษวัสดุ ซากปรักหักพังอาจมีอยู่เดิมบนดิน หรือฝังอยู่ใต้ดิน เช่น ตอไม้ใหญ่ๆ ที่อาจทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของปลวก หรืออาจทำให้ดินทรุดหลังจากการย่อยสลาย ซากคอนกรีตจากสิ่งก่อสร้างเดิม หากเจอแล้วต้องเอาออก เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายค่อเสาเข็มที่เราตอกลงไป โดยทั่งไปแล้วการสร้างบ้านจะไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบสภาพของเสาเข็มว่าเป็นอย่างไร หลังการตอกดลงไปแล้ว

เรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแค่เพียงการเริ่มต้นนะครับ และส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เขียนเอง เพราะฉะนั้นท่านเข้าของบ้านควรที่จะสอดส่องดูแลไว้บ้าง อย่าปล่อยให้ความมักง่ายของผู้รับเหมา สร้างปัญหาในภายหลังให้กับตัวบ้านของท่าน อย่าให้การลงทุนสร้างบ้านที่แสนแพงของท่านสูญเปล่า เพื่อที่ท่านจะได้อาศัยอยู่กับบ้านท่านอย่างมีความสุขครับ



แบบบ้านนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแบบบ้าน หรือกำลังที่จะก่อสร้างบ้าน ต้องยกเครดิตให้ท่าน ko_alongkot สมาชิกชมรมช่างท้องถิ่นเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ส่งมอบผลงานการเขียนแบบดีๆแบบนี้ให้เราได้นำไปประยุกต์ใช้กัน  หวังว่าคงถูกใจท่านที่ต้องการหาแบบบ้าน ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่าลืมแวะเวียนเข้าไป

เยี่ยมเยียนเว็บไซต์ ของทางชมรมฯกันบ้างนะครับ
ดาวน์โหลด (ฟรี ต้องสมัครสมาชิกก่อน) 

1 ความคิดเห็น: